Pages

Saturday, July 4, 2020

คอลัมน์ผู้หญิง - ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

bermainyu.blogspot.com

ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ.2561-2580 โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” โดยมีวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

ยุทธศาสตร์ชาติ แบ่งออกได้เป็น 6 ประเด็น คือ


1) ด้านความมั่นคง

2) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

3) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

4) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคของสังคม

5) ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

และ 6) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

ผมขอพูดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ ที่ 3 คือ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีรายละเอียดตามที่เขียนในประกาศราชกิจจานุเบกษา ดังนี้

“มีเป้าหมายด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่สามและอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่นๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง”

ที่ยุทธศาสตร์ชาติเขียนเกี่ยวกับการสร้างคนนั้นหลักการก็เหมือนกับที่ผมสอนลูกศิษย์ผมนั่นเอง คือ ของยุทธศาสตร์ชาติ “เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ” แต่ของผมมี “ดี เก่ง” เหมือนกัน แต่เพิ่ม “ความรอบรู้” และการมี “สุขภาพที่ดี” จะได้อยู่รับใช้สังคม ประเทศชาตินานๆ

ทำไมถึงต้องมีสุขภาพดี เพราะอย่างที่ผมพูดเสมอว่า ลูกศิษย์ผมกว่าจะเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ ได้ จะต้องใช้เวลาเรียน ตั้งแต่ประถมปีที่ 1 เป็นระยะเวลาประมาณ 30 ปี คือ 12 ปีที่โรงเรียน 6 ปีที่โรงเรียนแพทย์ 3 ปีใช้ทุน 3 ปีกลับมาโรงเรียนแพทย์ หรือโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อฝึกอบรมและสอบเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางสาขาอายุรศาสตร์ (ในกรณีของลูกศิษย์ผม) ต่อด้วยอีก 2 ปี ฝึกอบรมและสอบ เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบทางอาหาร ที่จุฬาฯ เราถือว่าเรียนระบบทางเดินอาหาร 2 ปี ยังไม่เก่ง ชำนาญพอ เพียงแต่เป็นแพทย์ทางด้าน GI (Gastrointestinal หรือระบบทางเดินอาหาร) ทั่วๆ ไปหรือเป็น GP (General Practitioner หรือหมอทั่วๆ ไป) ของ GI เท่านั้น เราจึงให้ Fellow หรือแพทย์ประจำบ้านต่อยอดของเราเรียนต่ออีก 1 ปี โดยอาจลงลึกทางด้านการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร ตับ การส่องกล้อง ฯลฯ ในการเรียนอนุสาขาวิชาทางสาขาอายุรศาสตร์ เช่น ระบบทางเดินอาหาร หัวใจ ไต มะเร็ง เลือด ฯลฯ ที่จุฬาฯ เราขอ (ในสมัยผมเป็นหัวหน้าภาค) ให้ Fellow ทุกอนุสาขาของสาขาวิชาอายุรศาสตร์ ทำ ป.โท ทางด้านวิจัยด้วย เพราะตอนนั้นผมมีความเห็นว่าประเทศไทยยังอ่อนมากเรื่องการวิจัย ซึ่งการเรียน ป.โท ของเราเน้นเรื่องสถิติ การทำวิจัย ระบาดวิทยาฯลฯ ซึ่งเป็นการสร้างพื้นฐานทางวิจัยให้คุณหมอต่างๆ ที่จบจุฬาฯปีนี้ 2563 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มให้ทุน “Fellows”ต่างๆ ทำ PhD แล้ว ซึ่งผมถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก หลังจากเรียน 2-3 ปี ที่ระบบทางเดินอาหาร ถ้าจะเป็นอาจารย์จุฬาฯ ในสมัยผมเป็นหัวหน้าหน่วย/ภาค ผมอยากให้ลูกศิษย์ไปนอก 2-5 ปี เรียนจนเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ ที่เขาไปเรียน เรียนประเด็นที่จุฬาฯ ประเทศไทย ต้องการ ต้องรู้เรื่องที่เรียนจริงๆ กลับมาต้องเป็นผู้นำคนหนึ่งทางด้านนี้ที่ประเทศไทย ภาษาต้องดี มีสายสัมพันธ์ที่ดี มีเพื่อนมากมาย อีกหน่อยจะได้ส่งศิษย์ หรือแพทย์ไทยคนอื่นๆ ไปนอก ไม่ว่าแพทย์นั้นจะจบ หรืออยู่ที่ไหน

ฉะนั้นถ้าลูกศิษย์ผมใช้เวลาเรียน 30 ปี ทั้งดี เก่ง รอบรู้ แต่มาดันตายตอนอายุ 40-45 ปี!!? มันน่าเสียดายมาก ไม่เป็นการคุ้มทุนใครเลย ไม่ว่าจะตัวคุณหมอ ญาติ หน่วย GICU (Gastrointestinal ระบบทางเดินอาหาร Chulalongkorn University จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) หรือคณะ

ด้วยเหตุผลนี้เองผมจึงต้องการลูกศิษย์ผมให้มีครบเครื่องคือ ทั้งดี ทั้งเก่ง ทั้งรอบรู้ และทั้งมีสุขภาพที่ดี ด้วยการแบ่งเวลาให้เป็น และทำทุกๆ อย่างพร้อมกันไป

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์

Let's block ads! (Why?)



"เสริมสร้าง" - Google News
July 05, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/3gsJeW4

คอลัมน์ผู้หญิง - ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"เสริมสร้าง" - Google News
https://ift.tt/2XNgEGX
Home To Blog

No comments:

Post a Comment