4 สิงหาคม 2563
14
โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อระบบ “เศรษฐกิจ” ทั้งในระดับมหภาคและระดับชุมชนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง แต่สำหรับคนที่มองหา “โอกาส” จากวิกฤตแล้ว โควิดอาจกลับกลายเป็นบทพิสูจน์ที่วัด “ความเข้มแข็ง” ของชุมชน และใจที่ “แข็งแรง” ของคน ที่ยืนหยัดว่าวิกฤตแค่ไหน ก็ “ไม่หวั่น” ร่วมฟังชุมชนตัวอย่างแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านวิกฤต ผ่านเสวนาออนไลน์ “ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง ภูมิคุ้มกันชุมชน สร้างอาชีพ สร้างคน” จัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
บัวตูม สร้างรายได้ทางเลือก ลดรายจ่าย
แม้บึงกาฬจะเป็นหนึ่งในจังหวัดปลอดโควิด-19 แต่ก็ยังคงได้รับผลกระทบจากการที่รัฐประกาศเคอร์ฟิว ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ไม่สามารถออกไปกรีดยางได้ ขณะเดียวกันชุมชนยังต้องรับรองการกลับมาของวัยแรงงานที่กลับบ้านเพราะถูกเลิกจ้างซึ่งมีประมาณร้อยละ 20 หรือกว่า 1,000 คนแม้ตกงาน แต่โชคดีที่บัวตูมยังมีทุนทางสังคมและทรัพยากรในชุมชน เนื่องจากชุมชนเน้นการทำการเกษตรและยังมีอาชีพเสริมหลากหลายจากกลุ่มอาชีพที่รวมตัวทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการมากกว่า 30 กลุ่ม อาทิ กลุ่มผลิตสินค้างานฝีมือ การทำไม้กวาดมา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากขยะ เป็นต้น กลุ่มเหล่านี้กลายเป็นจุดแข็งมาช่วยเสริม สร้างรายได้เสริมในยามยาก และชุมชนยังสนับสนุนให้สมาชิกลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น สร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนนอกจากนี้ แต่ละกลุ่มยังมีเงินกองทุนหมุนเวียนภายใน ที่สามารถนำมาใช้เป็นทุนสำรองในช่วงวิกฤตได้ “ยกตัวอย่างกลุ่มทำไม้กวาด มีเงินทุนสำรองหมุนเวียนที่มาจากการร่วมลงทุนของสมาชิกและเงินกำไรในกลุ่มถึง 10 ล้านบาท และได้นำมาให้สมาชิกสามารถยืมไปเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อซื้อวัตถุดิบได้ รวมถึงทาง อบต.บัวตูมเองยังมอบเงินอุดหนุนให้แก่กลุ่มอาชีพเสริมที่มีความเข้มแข็งและเป็นสมาชิกกลุ่มละ 10,000 บาท”
แม่ข่า เข้มแข็งเพราะพึ่งพาตนเองได้
แม่ข่า เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่ปรับตัวได้เร็ว เพราะเดิมมีวิถีชีวิตพึ่งพาตนเอง และยึดความพอเพียงเป็นหลักอยู่แล้ว สมนึก เดชโพธิ์ ปลัดเทศบาลตำบลแม่ข่า อำเภอฝาง เชียงใหม่ เล่าว่า กลุ่มสมาชิกที่ได้รับผลกระทบประกอบด้วยหลายกลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตร อาทิ ส้ม ลำไย ลิ้นจี่ กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าที่ค้าขายตามตลาดนัด กลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน และกลุ่มแรงงานที่กลับจากนอกพื้นที่ ทั้งนักศึกษาจบใหม่ และกลุ่มแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง “เมษายนเป็นช่วงเริ่มเจอผลกระทบหนัก เพราะส่งสินค้าเกษตรไปจำหน่ายตลาดค้าส่งได้น้อยลง ที่เดือดร้อนมากที่สุดคือกลุ่มสินค้าแปรรูปลำไย และลิ้นจี่เพราะเป็นฤดูกาลพอดี”
แต่เมื่อตลาดขายส่งถูกจำกัด สมาชิกจึงปรับตัวเอง โดยใช้วิธีขนผลิตผลขึ้นรถกระบะตระเวนจำหน่ายตามชุมชนใกล้เคียง ซ้ำในช่วงวิกฤตดังกล่าวชุมชนก็ยังได้คนรุ่นใหม่ที่กลับมาบ้านอีกประมาณ 300 คน ที่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการเรื่องการกระจายสินค้าและการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ โดยให้เกษตรกรนำสินค้ามารวมกัน รับจองผ่านโซเชียลมีเดีย และจัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ ผลพวงจากการปรับตัว ทำให้หลังคลายล็อค ช่องทางการตลาดดังกล่าวยังส่งผลให้สมาชิกได้ตลาดใหม่ ๆ เพิ่ม “การแก้ไขปัญหาต้องใส่ความร่วมมือจากคนทุกภาคส่วนในท้องถิ่น ซึ่งโควิดทำให้เห็นว่าความร่วมมือการทำงานร่วมกันมาช่วยแก้ปัญหาได้”
ท่างาม ปรับตัวไว ไม่เจ็บเยอะ
ชินวุฒิ อาศนวิเชียร นักบริหารสวัสดิการสังคม อำนวยการท้องถิ่น อบต.ท่างาม อำเภออินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เล่าว่าไม่เพียงเผชิญวิกฤติโควิด-19 แต่ท่างามยังมีเรื่องภัยแล้งทำให้เกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งปลูกกล้วยน้ำว้า ข้าว ได้รับผลกระทบ รวมถึงเมื่อชุมชนไม่มีคนมาดูงาน เดิมที่ชุมชนเคยจำหน่ายสินค้าชุมชนในธุรกิจศึกษาดูงานก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย “สถานการณ์นี้มีผลกระทบทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเกษตรกรหรือผู้ประกอบการอาชีพเสริม วิสาหกิจชุมชน แต่ทุกคนรู้จักปรับตัว สมาชิกส่วนหนึ่งผันตัวมาทำสินค้าหน้ากากผ้า เสริมรายได้ หรือเมื่อภัยแล้งทำให้กล้วยขาดตลาด ชาวบ้านจึงหันมาแปรรูปวัตถุดิบอื่นแทนและเนื่องจากตลาดสดต้องปิดไม่สามารถค้าขายได้ จึงหันมาเปิดศูนย์จำหน่ายสินค้าเฉพาะกิจในชุมชนที่จะเปิดทำการเป็นช่วงเวลา และไปเจรจาของซื้อสินค้าราคาพิเศษจากหน้าฟาร์มมาจำหน่ายให้สมาชิก ในด้านการมอบทุนอุดหนุนทาง อบต. ได้มอบเงินช่วยเหลือแก่สมาชิก 1,219 ครัวเรือนละ 1,000 บาท รวมถึงให้พักชำระหนี้ได้ “ท่างามมีคนรุ่นใหม่ที่เคยทำธุรกิจค้าขายช่องทางออนไลน์อยู่แล้ว ช่วงเคอร์ฟิวเรามีสินค้าตกค้างเยอะ อบต.จึงจัดวิธีการไลฟ์สด ขายสินค้าที่ใกล้หมดอายุผ่านเฟสบุ๊ค เพื่อช่วยระบายสินค้าทั้งในชุมชนเอง และจำหน่ายนอกชุมชน” เขาบอกว่าสถานการณ์นี้ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่อยากให้ทุกชุมชนเรียนรู้ และหันมาเตรียมความพร้อมปรับตัวเพื่อรับมือหากมีสถานการณ์เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝันเช่นนี้ในอนาคต
4 เครื่องมือสู้วิกฤต
รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาวะชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยว่าวิกฤตครั้งนี้สะท้อนว่า ชุมชนท้องถิ่นจำเป็นต้องมีการปรับตัวใน 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การเพิ่มทักษะใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่ทักษะเดิมให้กับสมาชิกชุมชนเพิ่มขึ้น อาทิ กลุ่มอาชีพก็มีทักษะใหม่ในการแปรรูป การกระจายสินค้า การตลาดก็ต้องมีทักษะการขายของออนไลน์ 2.เน้นการใช้ทุนสังคมที่มีอยู่ 3. ในเรื่องการลดค่าใช้จ่าย ควรใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนและมีวิถีการอยู่ร่วมกัน 4.การมีสถาบันการเงินของชุมชนเองจะเข้ามาช่วยให้ชุมชนรับมือและปรับตัวได้ทันท่วงที
ด้านดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโสกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนัก 3 ให้มุมมองว่า ชุมชนท้องถิ่นต้องเท่าทันและเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่ อาทิ การค้าขาย การทำตลาด
โดยชุมชนท้องถิ่นต้องสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลให้ได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ซึ่งชุมชนท้องถิ่นมีต้นทุนเรื่องนี้ เพราะมีเครือข่ายกว่า 2,000 ตำบลทั่วประเทศที่ควรมาร่วมสร้างเศรษฐกิจชุมชนร่วมกัน “วิกฤติโควิดจะทำให้เรารู้จักฝึกทักษะ รู้จักหาทางออก แม้แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเลิกจ้าง มองว่าเป็นผลดี เพราะทำให้มีแรงงานกลับบ้าน ซึ่งทำให้ชุมชนมีแรงงานรุ่นใหม่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งมองว่าทุกชุมชนทำได้หากแต่ต้องเริ่มจากการมีผู้นำที่มีคุณภาพและมีความรับผิดชอบ” ดวงพรกล่าวทิ้งท้าย
"เสริมสร้าง" - Google News
August 04, 2020 at 03:27PM
https://ift.tt/2PjW1yx
ท้องถิ่นเข้มแข็ง สร้างภูมิคุ้มกันดี สร้างเศรษฐกิจชุมชน - กรุงเทพธุรกิจ
"เสริมสร้าง" - Google News
https://ift.tt/2XNgEGX
Home To Blog
DEWAPK^^ agen judi terpercaya, ayo segera bergabungan dengan kami
ReplyDeletedicoba keberuntungan kalian bersama kami dengan memenangkan uang jutaan rupiah
ditunggu apa lagi segera buka link kami ya :) :)