Pages

Friday, August 28, 2020

"ดย.-พม."เสริมสร้างพลัง EMPOWERMENT สำหรับนักวิชาชีพ เพื่อช่วยเหลือผู้ถูกกระทำความรุนแรง และถูกล่วงละเมิดทางเพศ - สยามรัฐ

bermainyu.blogspot.com

เมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00 น. ณ ห้องแมนดาริน A โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพมหานคร นางสราญภัทร อนุมัติราชกิจ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิด “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างพลัง EMPOWERMENT สำหรับนักวิชาชีพ” หรือโครงการ “ผีเสื้อขยับปีก” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ ผู้ทำหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครองให้ความช่วยเหลือ การดำเนินการฟื้นฟูเยียวยา และเสริมพลังแก่เด็กผู้ที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศ ให้สามารถเปลี่ยนสถานะของตนเองจาก “เหยื่อ” กลายเป็น “พยานคนสำคัญ” เพื่อให้คนทำผิดถูกลงโทษตามกฎหมาย และสามารถเป็นผู้ปกป้องเด็กในกรณีอื่น ๆ ที่ถูกละเมิดในอนาคต ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการทำงานเพื่อการปกป้องคุ้มครองเด็ก พร้อมทั้ง เสริมสร้างพลัง EMPOWERMENT สำหรับนักวิชาชีพ เพื่อสร้างองค์ความรู้ ทักษะ และวิธีปฏิบัติต่อผู้ถูกกระทำความรุนแรงและถูกล่วงละเมิดทางเพศ และวิธีปฏิบัติต่อที่ใช้บริการในบ้านพักเด็กและครอบครัว โดยใช้กระบวนการทำงานทางสังคมสงเคราะห์ (Social work Process) ที่ผู้ปฏิบัติงานร่วมกับ สหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง จะต้องช่วยเหลือด้วยวิธีการเสริมสร้างพลัง EMPOWERMENT ต่อการปกป้อง คุ้มครอง ช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ถูกกระทำความรุนแรงและถูกล่วงละเมิดทางเพศและครอบครัว ให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจและนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสม ตามสิทธิที่กฎหมายกำหนด

นางสราญภัทร อนุมัติราชกิจ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า ทั้งนี้ จากสถิติผู้ใช้บริการ ในศูนย์พึ่งได้ทั่วประเทศ พบสถานการณ์ปัญหา เด็กและเยาวชนถูกกระทำความรุนแรงและถูกล่วงละเมิดทางเพศจำนวนมาก โดยสถิติ ปี พ.ศ. 2560 มีจำนวน 21,218 ราย ปี พ.ศ. 2561 มีจำนวน 14,237 ราย และในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวน 15,797 ราย ในจำนวนนี้ พบประเภทการกระทำ ความรุนแรงทางเพศ มากถึง 5,191 ราย คิดเป็นร้อยละ 32.9 ของสถิติเด็กและเยาวชนที่ถูกกระทำความรุนแรง จากสถิติพบว่า ความรุนแรงทางเพศมีสถิติ การเกิดขึ้นที่สูงที่สุด ส่วนใหญ่เป็นบุคคลใกล้ชิดของผู้เสียหาย และมักพบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติดเป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มอบหมายให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน โดยบ้านพักเด็กและครอบครัว 77 แห่ง ร่วมติดตามและให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ถูกกระทำความรุนแรงและการถูกล่วงละเมิดทางเพศ อย่างทันท่วงที

นางสราญภัทร กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน ร่วมกับคณะทำงานขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงและการละเมิดทางเพศต่อเด็กและเยาวชน มูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันพระประชาบดี ตระหนักในความสำคัญของปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2558 - 2564 โดยการส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการทำงาน เพื่อการปกป้องคุ้มครองเด็กและส่งเสริมศักยภาพ EMPOWERMENT สำหรับนักวิชาชีพ แก่เจ้าหน้าที่ของบ้านพักเด็กและครอบครัว ซึ่งเป็นบุคลากรผู้ทำหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูเยียวยา และเพื่อเสริมพลังให้ผู้ถูกกระทำความรุนแรงและถูกล่วงละเมิดทางเพศ ให้เปลี่ยนสถานะจากเหยื่อกลายเป็นพยานคนสำคัญ และสามารถเป็นผู้ปกป้องช่วยเหลือเด็กผู้เสียหายที่ถูกละเมิดสิทธิกรณีอื่น ๆ ในอนาคตได้

นางสุภัชชา สุทธิพล อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวว่า “การอบรมในครั้งนี้เป็นการสร้างองค์ความรู้ ทักษะ และวิธีปฏิบัติต่อ ผู้ถูกกระทำ ความรุนแรงและถูกล่วงละเมิดทางเพศ ที่เข้ารับบริการในบ้านพักเด็กและครอบครัว ให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดทักษะความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในกระบวนการคุ้มครองสวัสดิภาพและฟื้นฟูเยียวยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้แทนจากบ้านพักเด็กและครอบครัว สังกัดกรมกิจการเด็กและเยาวชน รวมทั้งสิ้น 45 คน ซึ่งจัดอบรมระหว่างวันที่ 28 – 30 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมแมนดาริน สามย่าน และสถาบันพระประชาบดี จังหวัดปทุมธานี ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้ร่วมกันเรียนรู้แลกเปลี่ยน ทักษะ และวิธีปฏิบัติต่อผู้ถูกกระทำความรุนแรงและถูกล่วงละเมิดทางเพศ ที่เข้ารับบริการในบ้านพักเด็กและครอบครัว ให้เกิดทักษะ และนำไปสู่การคุ้มครองสวัสดิภาพและเยียวยาได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับพื้นที่

ด้านนางทิชา ณ นคร หนึ่งในคณะทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง และการละเมิด ทางเพศ ต่อเด็ก และเยาวชน และที่ปรึกษามูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว กล่าวว่า สำหรับผู้หญิงการขึ้นโรงพัก การตก เป็นข่าว การถูกสัมภาษณ์โดยเฉพาะคดีข่มขืน ถือเป็นการกดดันอย่างมาก ถ้าเลี่ยงได้ผู้หญิงจะไม่ใช้วิธีเผชิญหน้า แต่จะยอมทุกข์ทรมานเก็บไว้ไม่กล้าบอกใคร การแก้ปัญหาเชิงระบบโดยเฉพาะกรณีโรงพักที่เป็นมิตรกับผู้เสียหายในคดีทางเพศ ต้องเรียกร้องจนกว่าจะได้คำตอบที่ตอบโจทย์ได้จริงในเชิงโครงสร้าง เช่น ทัศนคติทางเพศ ที่ผู้หญิง ต้องแบกรับ ส่วนผู้ชาย ลอยนวล หรือการยอมรับระบบชายเป็นใหญ่ ทั้งที่เพศชายมีสัดส่วนที่น้อยกว่าเพศหญิง ขณะที่โครงสร้างทางสังคม ผู้ชายถูกวางบนรากฐานที่เหนือกว่าผู้หญิง ดังนั้นจึงมีความจำเป็น ที่จะต้องวาง โครงสร้าง ขึ้นมาใหม่หรือใช้โครงสร้าง ที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพ เมื่อเกิดกรณีเด็กหรือเยาวชนถูกละเมิดทางเพศ บ้านพักเด็กและครอบครัว พม. ต้องเป็นหมุดหมายแรกของการทวงคืนความยุติธรรม มีกระบวนการเยียวยาเหยื่อ รวมถึงกิจกรรม หรือกระบวนการที่ทำให้ ผู้เสียหาย เข้มแข็ง เห็นคุณค่าของตัวเองและลุกขึ้นยืนหยัดอย่างมั่นใจที่จะนำผู้ทำผิดมารับโทษตามกฎหมาย

เมื่อเด็ก เยาวชนถูกล่วงละเมิดทางเพศ บ้าน ชุมชน โรงเรียนอาจจะไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย โดยเฉพาะการถูกแทรกแซง ถูกข่มขู่จากผู้ที่มีอิทธิพลมีอำนาจเหนือกว่า บ้านพักเด็กและครอบครัว ของ พม. ต้องเป็นที่พึ่งแรกของผู้เสียหาย ไม่ใช่แค่ที่หลบซ่อนหรือหนีร้อนมาพึ่งเย็น เพราะเมื่อคนทำผิดถูกลงโทษตามกฎหมายไม่ว่าเขาคนนั้นจะมีอาชีพใด ตำแหน่งใด มันคือการคืนความเป็นธรรมให้ผู้เสียหาย ขณะเดียวกันก็ส่งสัญญาณทางสังคมอย่างชัดเจนว่า สิทธิในเนื้อตัว ร่างกาย ชีวิตของเด็กของผู้หญิงนั้นถูกคุ้มครองอย่างเสมอภาค ใครจะละเมิดมิได้

นางเอ (นามสมมุติ) มารดาของเด็กผู้เสียหายคดีบ้านเกาะแรด จังหวัดพังงา กล่าวว่าเมื่อเด็กคนหนึ่งถูกกระทำ คุณมีทางเลือกแค่สองทางคือลุกขึ้นสู้ทำความจริงให้ปรากฏ ทวงความยุติธรรม หรือยอมแพ้ ปล่อยคนชั่วลอยนวล แล้วเราก็เป็นผู้แพ้ไปตลอดกาล การตัดสินใจในเบื้องแรกก่อนที่จะมีคนมาช่วยเหลือสำคัญมาก มันต้องอาศัยความเด็ดขาด หรือเรียกว่ายอมไปตายเอาดาบหน้า ดีกว่าอยู่อย่างผู้แพ้ให้เขากระทำย่ำยี เมื่อตัดสินใจชัดเจนแล้วการสื่อสารเพื่อขอความช่วยเหลือจึงเกิดขึ้น กรณีของตนการเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นด่านแรกที่เราคิดได้และลงมือทำ หลังจากนั้นบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพังงาก็เป็นจุดเริ่มในลำดับถัดมา เราต้องอพยพทุกคนในครอบครัวออกมาจากพื้นที่ เอาสิ่งของเท่าที่จำเป็นออกมา มาตั้งหลักกันที่บ้านพักเด็กและครอบครัว

"เราพยายามทำตัวเองให้ลูกเห็นว่าเรารับไหวนะ เราสู้ได้นะ ไม่เป็นไร สร้างความมั่นใจให้เขา เพื่อที่ลูกก้าวออกมาจากความทุกข์ของเขา เพื่อเขาจะได้เปิดเผยความจริง สิ่งที่ลูกและครอบครัวเราได้เจอกันเยอะมาก ไม่ว่าการถูกเกลียดชังจากชาวบ้าน คนที่ไม่เข้าใจ แล้วก็โดนด่าสารพัด โดนขู่ต่าง ๆ นานา แต่เราก็ตั้งใจจะต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เราสัญญากับลูกว่าเราจะสู้ไปด้วยกัน แล้วองค์กรต่างๆก็เข้ามาให้ความช่วยเหลือ ทั้งมูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ และทีมของป้ามล ทิชา ณ นคร ที่เข้ามาทำงานความคิดกับลูกและครอบครัวเรา ให้เราเข้าใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง ไม่โทษตัวเอง เราไม่ได้ผิด พวกเขาต่างหากที่ผิดและต้องถูกลงโทษ ด้วยความจริงที่ลูกจะต้องบอกเล่า ป้ามลทำให้เราได้เข้าใจเส้นทางเดินในกระบวนการยุติธรรมว่าเราต้องเจออะไรบ้าง และใครที่จะยืนเคียงข้างเรา จนกระทั่งเรามาอยู่ในความดูแลของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกระทรวงยุติธรรม ลูกได้บอกความจริงในศาลจนต่อมามีคำพิพากษาทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทรณ์ ลงโทษผู้กระทำผิดทั้ง 11 คน และปัจจุบันก็อยู่ระหว่างรอศาลฎีกา ถึงตอนนี้เราเข้าใจแล้วว่า “จากเหยื่อเป็นพยานเพื่อเอาคนผิดมาลงโทษ” ทำได้จริงๆ และเมื่อเราลุกขึ้นยืนได้ เป็นผู้รอดแล้ว เราก็คิดกันต่อว่า ครอบครัวเราควรหาโอกาสไปช่วยเหลือเด็กคนอื่น ครอบครัวอื่นที่เผชิญชะตากรรมแบบเราด้วย”

Let's block ads! (Why?)



"เสริมสร้าง" - Google News
August 28, 2020 at 04:29PM
https://ift.tt/32vvynP

"ดย.-พม."เสริมสร้างพลัง EMPOWERMENT สำหรับนักวิชาชีพ เพื่อช่วยเหลือผู้ถูกกระทำความรุนแรง และถูกล่วงละเมิดทางเพศ - สยามรัฐ
"เสริมสร้าง" - Google News
https://ift.tt/2XNgEGX
Home To Blog

No comments:

Post a Comment